วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ EOD เมื่อพบ IED

ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดเมื่อพบระเบิดแสวงเครื่อง มีดังนี้
  1. รับทราบภารกิจ (Tasking)
  2. การวางแผนขั้นต้น (Initial Planning)
  3. การปฏิบัติ ณ จุดนัดพบ
  4. การสอบถามพยาน (Questioning)
  5. การประเมินสถานการณ์ (Evaluation)
  6. การวางแผนการปฏิบัติ (Planning)
  7. การปฏิบัติตามแผน (Execution)
  8. การดำเนินการขั้นสุดท้าย
ที่มาของภาพ http://www.thairath.co.th/content/345599
ทั้ง 8 ขั้นตอน เป็นหลักการในการปฏิบัติของการเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 กรรมวิธี คือ
  1. การเข้าหา (Access Procedure) ความมุ่งหมายเพื่อทราบจุดที่แน่นอนของระเบิดแสวงเครื่อง
  2. การทำให้ปลอดภัย (Render Safe Procedure) ความมุ่งหมายเพื่อใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในการหยุดการทำงานของระเบิดแสวงเครื่อง
  3. การรอคอย (Soak Time) เป็นระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยในการเข้าหาระเบิดแสวงเครื่อง
การพิสูจน์ทราบระเบิดแสวงเครื่อง
เป็นขั้นตอนสำคัญในการเก็บกู้ระเบิดแสวงเครื่อง ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษเข้าช่วย และเครื่องมือพิเศษที่จัดว่ามีความจำเป็นมากสำหรับนักเก็บกู้วัตถุระเบิดคือ เครื่องยิงปลดชนวนระยะไกล (Water Cannon) และ เครื่องเอ็กซ์เรย์ (X-ray)

เครื่องยิงปลดชนวนระยะไกล เป็นเครื่องมือหลักของนักเก็บกู้วัตถุระเบิดในการนิรภัยระเบิดแสวงเครื่อง ปัจจุบันกรมสรรพาวุธทหารบก ได้ผลิตแจกจ่ายให้หน่วยงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (ทลร.) ของกองทัพบก โดยใช้ลำกล้องที่หมดอายุของ ปก.93 ขนาด 0.50 นิ้ว มีการทดสอบการใช้งานจนเป็ฯที่ยอมรับของหน่วยงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (ทลร.) ทุกเหล่าทัพว่ามีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าที่จัดหาจากต่างประเทศ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทลร.มีความปลอดภัยสูงขึ้น และโอกาสในการตัดการทำงานของวงจรระเบิดแสวงเครื่องมีมากกว่า 95% นอกจากนี้ยังชาวยประหยัดงบประมาณของกองทัพบกอีกเป็นจำนวนมาก

เครื่องเอ็กซ์เรย์ เปรียบเสมือนตาของนักเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งระเบิดแสวงเครื่องมักจะถูกปกปิดไม่สามารถเห็นส่วนประกอบภายในได้ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ ทำให้เราสามารถทราบโครงสร้างภายในของวัตถุต้องสงสัย เพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบติให้เกิดความปลอดภัย 

แนวทางการปฏิบัติหลังจากที่พิสูจน์ทราบแล้ว
ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติต่อระเบิดแสวงเครื่อง
  1. ระเบิดแสวงเครื่องแบบป้องกันการเปิด ใช้เครื่องยิงปลดชนวนระยะไกล หรือถ้าเคลื่อนย้าวยได้ให้ทำการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่โล่งแจ้งแล้วระเบิดทำลาย
  2. ระเบิดแสวงเครื่องแบบป้องกันการยกหรือการเคลื่อนย้าย ถ้าสามารถระเบิดทำลาย ณ ที่ตรวจพบให้ใช้ระเบิดทำลายหรือใช้เครื่องยิงปลดชนวนระยะไกล แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นจำเป็นต้องเก็บกู้ด้วยมือ (Hand Entry) ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง
  3. ระเบิดแสวงเครื่องแบบถ่วงเวลาด้วยนาฬิกา จำเป็นต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ้าสามารถระเบิดทำลาย ณ ที่ตรวจพบให้ใช้ระเบิดทำลายหรือใช้เครื่องปลดชนวนระยะไกล
  4. ระเบิดแสวงเครื่องแบบควบคุมระยะไกลใช้วิทยุรับ-ส่ง ให้ทำการค้นหาผู้ที่ควบคุมการจุดระเบิด ในรัศมีของวิทยุรับ-ส่ง ซึ่งมักจะอยู่ในที่สูง และให้ระวังกลลวง ถ้าสามารถระเบิดทำลาย ณ ที่ตรวจพบให้ใช้ระเบิดทำลายหรือใช้เครื่องยิงปลดชนวนระยะไกล โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ถ้ารู้ช่องสัญญาณความถี่ให้ใช้เครื่องรบกวนสัญญาณ (Jamming) รบกวนการทำงานของเครื่องรับ
ส่วนมากระเบิดแสวงเครื่องที่ออกแบบเพื่อความมุ่งหมายในการทำลาย มักมีระบบป้องกันการเก็บกู้ด้วย ระเบิดแสวงเครื่องดังกล่าวอาจมีการทำงานหลายระบบ หรือมีการทำลงานหลายชั้น 

ฉะนั้นเจ้าหน้าที่เก็บกู้ จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

*****************************
ที่มาข้อมูล : กรมสรรพาวุธทหารบก

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ขอให้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วงด้วยความปลอดภัยทุกครั้งครับ

    ตอบลบ