วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ช่วยกันเป็นหูเป็นหา ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย

จากเหตุการณ์วางระเบิดบริเวณสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวน 10 จุด เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ทำให้เรื่องราวของระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Device : IED) กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง ระเบิดแสวงเครื่องอาจถูกวางในพื้นที่ใดก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจไม่สามารถช่วยระมัดระวังได้อย่างทั่วถึง ประชาชนจึงควรช่วยกันเป็นหูเป็นตา หมั่นสังเกตุและระแวดระวังวัตถุต้องสงสัยกันมากยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง  

หมั่นการสังเกตความผิดปกติในพื้นที่ของเรา สิ่งของอะไรที่ 
ไม่เคยเห็น ไม่เป็นของใคร ไม่ใช่ที่อยู่ ดูไม่เรียบร้อย
ให้สมมติฐานว่าอาจจะเป็นระเบิดแสวงเครื่องไว้ก่อน

การห่อหุ้มเพื่ออำพราง
วัสดุอุปกรณ์หรือภาชนะที่มักใช้ห่อหุ้ม หรือบรรจุ IED เพื่ออำพรางให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ทำให้ยากต่อการตรวจพบ ซึ่งหากไม่ระมัดระวัง หรือขาดการสังเกตที่ดีก็มักจะตกเป็นเหยื่อของ IED อยู่เสมอ รูปแบบการห่อหุ้มที่เคยพบ เช่น
  • บรรจุในถังน้ำยาเคมีดับเพลิง        
  • บรรจุในถังแก๊สหุงต้ม
  • บรรจุแผ่นเหล็กรูปทรงต่างๆ
  • บรรจุในท่อแป๊บน้ำ/ท่อพีวีซี/ท่อประปา
  • บรรจุในถังน้ำมันเชื้อเพลิงรถจักรยานยนต์
  • บรรจุในหม้อแขก
  • บรรจุในถัง/กระป๋องสี
  • บรรจุในแกลลอนน้ำมันเครื่อง
  • บรรจุในขวดแก้ว
  • ห่อหุ้มด้วยปูนซีเมนต์เลียนแบบหลักทาง
  • ห่อหุ้มในกระสอบทราย
  • ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติก/กระป๋องขนม
  • ห่อหุ้มด้วยกล่องนม/น้ำผลไม้
  • ห่อหุ้มด้วยกระป๋องน้ำอัดลม/เบียร์
  • ซุกซ่อนในกระเป๋าสะพาย
  • ซุกซ่อนในหนังสือ
  • ซุกซ่อนในกระถางต้นไม้
  • ซุกซ่อนในรถจักรยานยนต์
  • ซุกซ่อนในหลักกิโลเมตร
  • ฯลฯ








จุดที่มักชอบวาง  IED
จุดที่วาง IED ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ แต่ส่วนใหญ่มักจะซุกซ่อนไม่ให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย และสามารถให้อำนาจการระเบิดมีผลกระทบต่อเป้าหมายมากที่สุด ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พบ มีตัวอย่างให้เห็น ดังนี้
  1. การลอบวางงระเบิดเส้นทางลาดตระเวน เช่น บนพื้นถนนอ่อนหรือชำรุด การขุดจากด้านข้างถนน การวางไว้บนต้นไม้ การซุกซ่อนไว้ในรถยนต์ วางไว้ในท่อลอดใต้ถนน วางไว้โคนเสาหลักกิโลเมตร วางไว้ริมถนน วางไว้บนเนินดินข้างถนน  วางไว้บนเสาไฟข้างถนน เป็นต้น  
  2. การลอบวางระเบิดในเขตชุมชน เช่น วางไว้ในรถจักรยานยนต์ ในรถยนต์ ในถังขยะ ในกองขยะ ในกระถางต้นไม้ ไว้ใต้ที่นั่งพัก เป็นต้น
  3. การลอบวางระเบิดภายในอาคาร ร้าน ค้า และสถานบันเทิง เช่น วางไว้ในร้านสะดวกซื้อ ในร้านหนังสือ ในห้างสรรพสินค้า ในสถานบันเทิง ใต้อ่างล้างมือ ในห้องน้ำสาธารณะ 
  4. การลอบวางระบิดในพื้นที่อื่นๆ เช่น ในศาลาพักริมทาง ใต้ลานอิฐตัวหนอน บนเกาะกลางถนน ใต้แผงขายของ ในแปลงปลูกต้นไม้ ในป้อมตำรวจ เป็นต้น 
จุดที่มักวาง IED ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กล่าวมา สามารถนำไปใช้เป็นจุดที่ควรสังเกตเบื้องต้นได้ แต่หากท่านใดพบวัตถุต้องสงสัยเข้าจริงๆ ขอให้ทำตามคำแนะนำตามลิงค์นี้ ครับ



*********************************
ที่มาข้อมูล
  • คู่มือการพัฒนาระเบิดแสวงเครื่องของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
  • แนวทางการบริหารเหตุการณ์วิกฤต